รวมชิ้นส่วนที่สำคัญของอะไหล่ปั้มลมลูกสูบ
ปั้มลมลูกสูบนั้นเป็นที่นิยมใช้งานกันมานานหลายปีแล้วตั้งแต่เริ่มมีโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งมีความทนทาน แต่เมื่อใช้งานนานๆ อะไหล่หรือชิ้นส่วนต่างๆ จะเกิดการสึกหลอหรือเสียหายได้ ดังนั้นเมื่่อมีปัญหาสามารถหามาทดแทนได้ไม่ยากมากนัก ซึ่งอะไหล่ปั้มลมลูกสูบที่สำคัญมีดังนี้
ลูกสูบ (Piston)
ลูกสูบปั้มลม มี 2 แบบ คือ ทำมาจากเหล็ก และ อลูมิเนียม มีอยู่หลายขนาด เช่น ขนาด 65 มม. ขนาด 80 มม. และ ขนาด 100 มม. เป็นต้น ตรงกลางจะมีการเจาะรูผ่านเพื่อให้ลูกสูบผลักกับก้านสูบ บริเวณผิวรอบนอกนั้นจะมีการเจาะร่องเพื่อใส่แหวนอัดและแหวนน้ำมัน
ก้านสูบ (Connecting rod)
ก้านสูบจะทำหน้าที่เชื่อม หรือส่งกำลังจากข้อเหวี่ยงไปที่ลูกสูบให้เคลื่อนที่ จะมีลักษณะแกนยาว มีห้วงกลมอยู่ปลายแกนทั้ง 2 ด้าน ด้านที่ยึดติดกับเพลาข้อเหวี่ยงจะใหญ่กว่าด้านที่ติดกับลูกสูบ
ชาร์ป (Sharp)
ชาร์ป มีลักษณะเป็นชิ้นส่วนอลูมิเนียม มีแบบเป็นวงกลมและครึ่งวงกลม 1 ชุดจะมี 2 ชิ้น ติดตั้งอยู่ระหว่างก้านสูบและเพลาข้อเหวี่ยง อาสัยน้ำมันเครื่องที่สะอาดคอยหล่อลื่น เพราะจุดนี้จะเป็นจุดที่รับแรงมากและเป็นจุดหมุน
เพลาข้อเหวี่ยง (Crankshaft)
เพลาข้อเหวี่ยงจะมีลักษณะเป็นแกนเหล็กเยื้องศูนย์ โดยมีตุ้มน้ำหนักหรือที่เรียกว่าตับเป็ด จะเป็นตัวเคลื่อนชุดลูกสูบให้ทำงานตามจังหวะทั้งหมดของชุดปั้มลม
ฝาสูบ (Cylinder head)
ฝาสูบ ลัษณะทำมาจากเหล็กหล่อ จะมีช่องลมเข้าและระบายลมออก โดยทั้ง 2 ด้าน จะมีการแบ่งแยกออกจากกันชัดเจน
วาล์วไอดีและวาล์วไอเสีย (Intake valve and exhaust valve)
วาล์วไอดี จะเป็วาล์วเปิดให้ลมที่มีแรงดันบรรยากาศเข้าไปในกระบวนการบีบอัด เมื่อเข้าไปในกระบวนการบีบอัดแล้ว วาล์วไอเสียจะเปิดออกเพื่อระบายลมที่อัดไปเก็บไว้ในถังลม
เสื้อสูบ (Cylinder block)
เสื้อสูบมีลักษณะภายนอกเป็นเหล็กหล่อ มีคลีบระบายความร้อนโดยอาสัยลมจากใบพัดของหัวปั้มลม ภายในจะมีท่อเหล็กเจียรไนผิวเรียบอยู่ทำหน้าที่เป็นห้องอัดความดัน โดยอาสัยการเคลื่อนที่ของลูกสูบ
สลักลูกสูบ (Piston pin)
สลักลูกสูบ เป็นแกนเหล็กกลมเคลือบผิวมันเป็นตัวยึดให้ลูกสูบกับก้านสูบอยู่ด้วยกัน
หม้อกรองอากาศและไส้กรองอากาศ (Air filter)
หม้อกรองอากาศ จะมีทั้งแบบเหล็กและแบบพลาสติกสีดำ ภายในจะมีไส้กรองอากาศเพื่อกรองฝุ่นที่มากับอากาศ ก่อนที่อากาศจะผ่านไปยังวาล์วไอดี โดยที่หม้อกรองจะมี 2 ด้าน ให้อากาศผ่าน เข้า – ออก
ตัวหายใจ (Breath)
ตัวหายใจ ภายในจะมีลูกบอลกลม จะทำหน้าที่ระบายแรงดันออกจากห้องเก็บน้ำมันเครื่อง เมื่อมีการเคลื่อนที่ของลูกสูบ
ตัววิดน้ำมันเครื่อง (Engine oil baler)
ตัววิดน้ำมันเครื่องจะยึดติดกับก้านสูบ จะทำหน้าที่วิดน้ำมันเครื่องมาหล่อลื่นข้อเหวี่ยงขณะปั้มลมทำงาน
ตาแมวหรือช่องมองระดับน้ำมันเครื่อง (Photoelectric or engine oil level viewfinder)
ตาแมว จะมีลักษณะใส เพื่อใช้มองระดับน้ำมันเครื่องและสีของน้ำมันเครื่อง ระดับน้ำมันเครื่องควรอยู่ตรงกลางของช่องมองตาแมว
ซีลน้ำมัน (Oil seal)
ซีลน้ำมันจะมีลัษณะยาว สีดำ วงกลม ยึดติดกับหัวเก็บน้ำมันเครื่อง ป้องกันน้ำมันเครื่องไหลออกตามแนวของแกนเพลา
สายพานส่งกำลัง (Power transmission belt)
สายพานส่งกำลังในระบบของปั้มลมลูกสูบมักจะใช้เป็นร่อง A, ร่อง B จำนวนเส้นที่ใช้ขึ้นอยู่กับการออกแบบจากโรงงานผลิต เวลาเปลี่ยนสายพานควรเปลี่ยนหมดทุกเส้นพร้อมกัน
เช็ควาล์ว (Check valve)
เช็ควาล์ว ทำหน้าที่ป้องกันแรงดันลมออกมาจากหัวขับลม โดยที่ผ่านในตัวเช็ควาล์ว ในตัวเช็ควาล์วจะมีลิ้นวาล์วคอยทำหน้าที่เปิด – ปิด ลมลงไปในถัง เช็ควาล์วนั้นจะมีจุดต่อท่อขนาดเล็ก จุดนี้ควรต่อท่อไปเชื่อมกับกลไกของเพรชเซอร์สวิทย์เพื่อระบายแรงดันลมออกเมื่อปั้มลมหยุดทำงาน ไม่ควรอุดรูเช็ควาล์ว
เซฟตี้วาล์ว (Safety valve)
เซฟตี้วาล์ว จะทำหน้าที่ระบายแรงดันลมส่วนเกินออกนอกถังเก็บลบเมื่อแรงดันเพิ่มขึ้นถึงจุดที่ตั้งค่าไว้ โดยส่วนใหญ่จะตังค่ามากกว่าแรงดันปกติ 1.5-2 บาร์
เพรสเซอร์เกจ (Pressure gauge)
เพรสเซอร์เกจจะทำหน้าที่บ่งบอกว่าภายในถังเก็บลมนั้นจะมีแรงดันลมอัดเท่าไร หน่วยวัดที่นิยมใช้วัดค่าแรงดันลม เช่น bar, kgf/cm3, MPA เป็นต้น
เพรสเซอร์สวิทซ์ (Pressure switch)
เพรสเซอร์สวิทซ์จะทำหน้าที่ควบคุมแรงดันภายในถังเก็บลมให้อยู่ในระดับที่กำหนดโดยเอาไว้
สนใจปั๊มลม หรือ มีปัญหาการเกี่ยวกับการใช้ปั๊มลม ติดต่อได้ที่
โทร 089-719-8758, 02-987-3505 หรือ ติดต่อ ทาง Line@