ออโต้เดรน [ Auto Drain ] : อุปกรณ์ที่ช่วยให้การระบายน้ำ โดยใช้ติดตั้งในระบบท่อลมที่เกิดจากการขังของน้ำภายในท่อส่งลม หรือใต้ถังเก็บลม ในระบบนิวเมติกจะทำหน้าที่ในการระบายน้ำเสียหรือน้ำขัง ที่เกิดจากการคอนเดนเสท (Condensate) หรือเกิดจากการสะสมของไอน้ำจนกลายเป็นหยดน้ำ หากน้ำขังหรือหยดน้ำมีปริมาณมากเกินไป จะทำให้เกิดความร้อนสะสมในระบบนิวเมติก และจะทำให้เกิดความเสียหายได้ ออโต้เดรน [Auto Drain] จึงเข้ามาช่วยให้ระบายน้ำได้ง่ายขึ้น สะดวก ลดเวลาผู้ปฎิบัติงานได้ และบำรุงรักษาง่าย
1. ออโต้เดรนแบบลูกลอย (Float Drain) ออโต้เดรนที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบันในการติดตั้งกับระบบนิวเมติก มีลักษณะแบบลูกทรงกลมไว้ใช้ติดตั้งในระบบท่อส่งลม โดยทำงานเปรียบเสมือนตัววัดระดับน้ำเพื่อเปิดปิดวาล์วระบายน้ำออกจากระบบนิวเมติก
3. ออโต้เดรนทำงานแบบไฟฟ้า (Electronic Drain Valve) ออโต้เดรนแบบนี้จะใช้พลังงานไฟฟ้ามาทดแทนการทำงานของออโต้เดรนแบบลูกลอย เพื่อทำการสั่งเปิดและปิดวาล์วระบายน้ำออกจากระบบนิวเมติก
3. ออโต้เดรนทำงานแบบ (Timer Drain) ออโต้เดรนแบบตั้งเวลาได้เพื่อทำการปล่อยน้ำออกอย่างสม่ำเสมอ เหมาะสำหรับใช้แก้ปัญหาในการถอดล้างออโต้เดรนบ่อย ๆ รวมถึงปัญหาน้ำย้อนกลับเข้าสู่ระบบนิวเมติก
4. ออโต้เดรนแบบ (Air Zero Loss) ออโต้เดรนที่สามารถป้องกันการเดรนของอากาศอัดไปอย่างสูญเปล่าประโยชน์ ในขณะที่ระบบนิวเมติกได้ทำการระบายน้ำออก ช่วยลดการสูญเสียพลังงานโดยสิ้นเปลืองได้
ออโต้เดรนทำงานแบบเมคคานิค
ออโต้เดรนทำงานแบบเมคคานิค จะอาศัยลูกลอย ลอยบนผิวน้ำเกิดจากคอนเดนเสท (Condensate) เมื่อเกิดการสะสมของน้ำเพิ่มมากขึ้นจนถึงระดับที่ต้องการ วาล์วระบายน้ำจะเปิดออก โดยอาศัยแรงดันลมอัดภายใน ช่วยส่งน้ำออกจากถ้วยเก็บน้ำ และหลังจากนั้นน้ำที่ค้างอยู่ในถ้วยจะลดระดับต่ำลง วาล์วระบายน้ำก็จะทำการปิดออโต้เดรน โดยแบบนี้จะมีข้อเสีย คือเมื่อใช้งานนานขึ้นจะมีคราบน้ำมัน เศษสนิม ทำให้ลูกลอยค้าง ลมอัดจะรั่วออกตลอดเวลา ดังนั้นควรทำความสะอาด
ออโต้เดรนทำงานแบบไฟฟ้า
ออโต้เดรนทำงานแบบไฟฟ้าส่วนใหญ่จะอาศัยพลังงานไฟฟ้าที่ 220 โวล์ท มาสั่งให้โซลินอยด์วาล์วเปิด-ปิด เพื่อทำการระบายน้ำออกจากระบบ โดยจะมีอุปกรณ์ควบคุมที่สามารถตั้งเวลา เปิด-ปิด ได้ ตัวโซลินอยด์วาล์วนั้นจะมีตัวกรองเศษวัสดุก่อนเข้าวาล์ว สามารถถอดมาทำความสะอาดได้
ออโต้เดรนแบบประหยัดพลังงาน
ออโต้เดรนแบบประหยัดพลังงานนั้นจะมีทั้งแบบเมคคานิคและแบบไฟฟ้า เมื่อเวลาเดรนน้ำที่เกิดจากการคอนเดนเสท (Condensate) แล้ว จะไม่เกิดการสูญเสียลมอัด เพราะลมอัดที่เสียไปนั้นถือว่ามีต้นทุนในการผลิต นั่นคือไฟฟ้า และค่าซ่อมบำรุงปั๊มลม โดยสามารถคำนวณค่าใช่จ่ายที่สูญเสียไปได้
© 2021 All rights reserved